Graphic Card
ในปัจจุบันนี้นั้นการเลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ของคนไทยนั้นได้มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเป็นอย่างมาก ซึ่งในแต่ก่อนนั้นการเลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นคนส่วนใหญ่จะทำการเลือกซื้อของคอมพิวเตอร์จากผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ชุดรายใหญ่ หรือที่เรียกกันว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ Bandname นั้นเนื่องจากว่าความสะดวกสบายในการจัดเลือกติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ และการรับประกันที่มีคุณภาพ แต่ในช่วงระยะหลังมานี้ได้มีผู้คนที่มีความสนใจ และได้ทำการศึกษาการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ และการทำงานต่างๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์มีเพิ่มมากขึ้นเป็นอย่างมากทำให้การเลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์แบบประกอบเอง เลือกอุปกรณ์เองจึงเป็นที่นิยมมากขึ้นเป็นอย่างมาก
สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบประกอบเองนั้นอุปกรณ์ต่างๆ นั้นสามารถที่จะทำการเลือกใช้งานได้อย่างตรงกับความต้องการของผู้ใช้งานมากที่สุดสำหรับอุปกรณ์อย่าง Graphic Card (กราฟิกการ์ด) นั้นก็เป็นอุปกรณ์ที่ผู้ที่ใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อความบันเทิงอย่างเช่น การเล่นเกม และการชมภาพยนตร์ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์นั้นแน่นอนว่าจะจำเป็นต้องการ Graphic Card (กราฟิกการ์ด) ที่มีความสามารถที่จะทำการประมวลผลภาพได้อย่ารวดเร็วและสวยงามซึ่งในตอนนี้นั้น Graphic Card (กราฟิกการ์ด) ที่มีมาขายในบ้านเรานั้นก็มีอยู่มากมายหลายผู้ผลิต และยังมีอีกหลายรุ่นให้เลือกใช้งานกัน การเลือกซื้อ Graphic Card (กราฟิกการ์ด) นั้นส่วนใหญ่ผู้ที่เลือกซื้อนั้นจะทำการเลือกที่ชิปที่ทำงานบนตัวการ์ด ว่ามีคามเร็วในการทำงานทำงานเท่าไรโดยส่วนใหญ่จะมีหน่วยเป็น MHz และตัวชิปนั้นสามารถที่จะรองรับเทคโนโลยีในการประมวลผลอะไรบ้าง และคนส่วนใหญ่ยังสามารถที่จะทำการเลือกซื้อที่หน่วยความจำ (Memory) ด้วยขนาด ประสิทธิภาพ และความเร็ว ซึ่งการเลือกซื้อนั้นเป็นสิ่งที่ทุกต้องในการเลือกซื้อ Graphic Card (กราฟิกการ์ด) ในการใช้งานเพื่อให้ได้ Graphic Card (กราฟิกการ์ด) ที่มีประสิทธิภาพในการใช้งานกัน แต่สิ่งที่สำคัญอย่างหนึ่งสำหรับการใช้งาน Graphic Card (กราฟิกการ์ด) สำหรับเครื่องที่ใช้งานเพื่อความบันเทิง
อย่างที่ทราบกันดีอยู่แล้วจอการใช้งานคอมพิวเตอร์ในสมัยนี้นั้นการแสดงผลผ่านทางจอภาพมีความสำคัญที่สุดในการใช้งานคอมพิวเตอร์เนื่องจากว่าจอภาพเป็นอุปกรณ์ Out Put เพียงอย่างเดียวที่สามารถที่จะติดต่อกับผู้ใช้งานได้รวดเร็ว และต่อเนื่องอยู่ตลอดเวลา โดยในการที่จะแสดงผลออกมาที่จอภาพนั้น Graphic Card (กราฟิกการ์ด) เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญเป็นอย่างมากในการแสดงผล ซึ่งเมื่อนับถอยหลังไปถึงตอนในช่วงแรกๆ ของคอมพิวเตอร์ Graphic Card (กราฟิกการ์ด) ในช่วงนั้นเป็นเพียงชิปประมวลผลที่สามารถที่จะแสดงภาพได้เพียงตัวอักษร (Text) เท่านั้น ต่อมาได้มีการพัฒนาให้สามารถที่จะแสดงภาพที่มีสี 2 มิติ จนในถึงในยุคปัจจุบันที่ Graphic Card (กราฟิกการ์ด) นั้นสามารถที่จะแสดงภาพต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น 2 มิติ หรือ 3 มิติ ให้ใกล้เคียงกับภาพที่มีอยู่จริงตามธรรมชาติมาก รวทั้งความเร็วในการประมวลผลนั้นถือได้ว่าถูกพัฒนาให้มีความเร็วเพิ่มขึ้นอยู่อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากว่า Graphic Card (กราฟิกการ์ด) ที่มีอยู่ในขณะนี้มีให้เลือกซื้ออยู่มากมายหลายรุ่นเป็นอย่างมาก รวมทั้งราคา และประสิทธิภาพที่ค่อนข้างหลากหลาย จึงทำให้ตัดสินใจซื้อค่อนข้างที่จะยาก
สำหรับในตลาดบ้านเราแล้วชิปกราฟิกส่วนใหญ่จะเป็นของทาง nVIIDIA และของ ATi ส่วนชิปของผู้ผลิตรายอื่นๆ นั้นจะไม่ค่อยมีให้เห็นกันเลย สำหรับในการเลือกซื้อ Graphic Card (กราฟิกการ์ด) สักตัวหนึ่งนั้นอย่างแรกที่ควรพิจารณาเลยคือเรื่องของการนำคอมพิวเตอรืไปใช้งาน ซึ่งในการใช้งานแต่ละประเภทจำเป็นต้องใช้ Graphic Card (กราฟิกการ์ด) ที่แตกต่างกันออกไป เพราะว่าราคาของการ์ดแต่ละรุ่นในแตกต่างกันค่อนข้างมากซื้อมีตั้งแต่หลักร้อยถึงหลักหมื่น เรื่องต่อมาที่ใช้ในการเลือกซื้อคือเรื่องของความเร็ว และเทคโนโลยีที่ชิปกราฟิกรองรับ ส่วนนี้ถือได้ว่าสำคัญมากในการเลือกซื้อ Graphic Card (กราฟิกการ์ด) สำหรับความเร็ว และเทคโนโลยีที่รองรับรับนั้นชิปในแต่ละรุ่นก็จะแตกต่างกันออกไป โดยชิปที่มีความเร็วในการทำงานสูงๆ และรองรับเทคโนโลยีใหม่ๆ ราคาก็จะแพงขึ้นไปตามลำดับ โดย Graphic Card (กราฟิกการ์ด) ส่วนใหญ่ที่มีในตลาดจะเป็นการ์ดประเภทที่รองรับการทำงานทั้งแบบ 2 มิติ และ 3 มิติ เป็นส่วนใหญ่ และยังมีการ์ดที่เป็นการ์ดที่ใช้งานทางด้านกราฟิกเฉพาะทางซึ่งการ์ดพวกนี้ราคาจะค่อนข้างสูงมาก
ตัวอย่างของสเปกชิปกราฟิก
GPU RADEON X700 XT RADEON X700 PRO RADEON X700
Memory 256 MB 128-bit GDDR3 SDRAM 128/256 MB 128-bit DDR1/DDR2/GDDR3 SDRAM 128/256 MB 128-bit DDR1 SDRAM
Core Clock 475 MHz 420 MHz 400 MHz
Memory bandwidth 16 GB/s 13.8 GB/s 9.6 GB/s
Pixel pipelines 8 8 8
Fill Rate 4.0 GTexels/s 3.4 GTexels/s N/A
DirectX 9.0 9.0 9.0
OpenGL 2.0 2.0 2.0
RAMDAC 400 MHz DAC 400 MHz DAC 400 MHz DAC
Connectors DVI-I / TV-Out / D-Sub
Supported OS Microsoft Windows XP, Microsoft Windows 2000
Interface PCI Express
ซึ่งจะเห็นได้ว่าชิปกราฟิกในแต่ละรุ่นมีค่าความเร็ว และเทคโนโลยีที่ต่างกัน อย่างที่กล่าวมาว่าการเลือกซื้อ Graphic Card (กราฟิกการ์ด) ควรจะเลือกตามงบประมาณที่ตั้งไว้ และการใช้งานซึ่งจะแบ่งออกได้เป็นช่วงๆ ของการเลือกซื้อ อย่างแรกเลยคือการเลือกซื้อ Graphic Card (กราฟิกการ์ด) สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ราคาไม่เกิด 10,000 บาท โดยคอมพิวเตอร์ราคาประมาณนี้นั้นเหมาะสำหรับผู้ที่เริ่มใช้งานคอมพิวเตอร์ หรือใช้งานตาม Office ดังนั้นกราฟิกที่ใช้จึงไม่ค่อยมีความสำคัญมาก ซึ่งสำควรที่จะใช้งาน Graphic Card (กราฟิกการ์ด) ประเภท On board หรือ Graphic Card (กราฟิกการ์ด) ราคาประหยัดอย่าง SiS 6326 ที่ราคาจะอยู่ที่ประมาณไม่เกิด 850 บาท จึงทำให้ช่วยลดงบในการเลือกซื้อไปได้มาก รวมทั้ง Graphic Card (กราฟิกการ์ด) ประเภท On board ในช่วงนี้ก็สามารถที่จะผลิตออกมาได้คุณภาพสูงพอสมควร ในช่วงต่อมาคือเครื่องคอมพิวเตอร์ราคาประมาณ 10,000 - 20,000 บาท โดยในระดับนี้เป็นราคาสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในระดับมาตรฐานตามที่ทางร้านขายเครื่องคอมพิวเตอร์จะจัดสเปกไว้ โดย Graphic Card (กราฟิกการ์ด) ที่ใช้จะอยู่ที่ GeForce4 MX 400 ถึง GeForce FX 5200 ในของ nVIDIA สำหรับของ ATi ก็จะอยู่ที่ Radeon 9200SE ถึง Radeon 9200 Pro ซึ่งราคาของการ์ดในระดับนี้จะตกอยู่ที่ประมาณ 1,500-4,000 บาท ต่อมาจะอยู่ที่ประมาณ 20,000 - 30,000 บาท ซึ่งคอมพิวเตอร์ที่เพิ่มงบมาขนาดนี้ควรที่จะทำการเพิ่มหน่วยความจำหลัก (RAM) หรือความจุของ Hard Disk ให้มากขึ้น สำหรับ Graphic Card (กราฟิกการ์ด) เองก็สามารถที่จะเพิ่มขึ้นมาใช้งาน Graphic Card (กราฟิกการ์ด) ที่เพิ่มความเร็วขึ้นมาอีกระดับโดยที่จะสามารถที่จะเลือกซื้อ GeForce FX 5500 หรือ Radeon 9550 ได้อย่างสบายๆ ซึ่งราคาจะตกอยู่ที่ประมาณ 3,500-4,500 บาท ต่อมาเป็นคอมพิวเตอร์ที่มีราคาอยู่ที่ 30,000 - 40,000 บาท คอมพิวเตอร์ราคาประมาณนี่น่าที่จะเลือกซื้อ Graphic Card (กราฟิกการ์ด) ที่อยู่ในระดับกลางๆ ที่ถือได้ว่าเป็นการ์ดที่คุ้มค่ามากในขณะนี้อย่าง GeForce FX 5700 Series และ Radeon 9600 Series ซึ่งสามารถที่จะรองรับการใช้งานด้านกราฟิก และสามารถที่จะเล่นเกมที่ออกมาใหม่ๆ ได้อย่างสบาย ราคาของการ์ดในรุ่นนี้จะตกอยู่ที่ประมาณ 7,500 - 9,500 บาท ต่อมาเป็นคอมพิวเตอร์ที่มีราคาอยู่ที่ประมาณ 40,000 - 50,000 บาท สำหรับคอมพิวเตอร์ที่มีงบในการเลือกซื้อระดับนี้ถือได้ว่าเป็นงบที่สูงมากอยู่พอสมควร ซึ่งกราฟิกการืดที่สามารถที่จะเลือกซื้อมาใช้งานนั้นสามารถที่จะเลือกซื้อการ์ดที่อยู่ในระดับสูงได้อย่างสบายๆ แต่ถ้าจะให้เมาะสมนั้นควรเลือกการ์ดที่อยู่ในรุ่น GeForce FX 5900 ถึง GeForce 6800 หรือ Radeon 9800- Radeon X800 ซึ่งราคาจะอยู่ที่ 9,500-20,000 บาท ซึ่ง Graphic Card (กราฟิกการ์ด) ในระดับนี้สามรถที่จะแสดงภาพกราฟิกต่างๆ ได้อย่างมากประสิทธิภาพที่สูงมาก ในส่วนของคอมพิวเตอร์ที่ราคาเกิน 50,00 บาท ขึ้นไปนั้นถือว่าเป็นการเลือกวื้อในงบที่ไม่จำกัด Graphic Card (กราฟิกการ์ด) ที่ควรจะเลือกซื้อควรจะเป็นการ์ดรุ่นใหม่ๆ อย่าง GeForce FX 5950 Ultra หรือ GeForce 6800GT, Ultra ส่วนของ ATi ควรจะอยู่ที่ Radeon 9800 XT หรือ Radeon X800 Pro ซึ่งาคานั้นะอยู่ที่ 20,000-30,000 บาท ส่วนในเรื่องของคุณภาพนั้นถือได้ว่าเป็น Graphic Card (กราฟิกการ์ด) ที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในขณะนี้ส่วนคอมพิวเตอร์ที่จะนำไปใช้งานทางด้านกราฟิกโดยเฮพาะนั้นควรที่จะเลือกซื้ออยู่ที่งบประมาณ 40,000 ขึ้นไป เนื่องจากว่า Graphic Card (กราฟิกการ์ด) ประเภท 3 มิติ อย่างเดียวอย่าง Quadro กับ FireGL นั้นมีราคาที่แพงกว่าโดยราคาเริ่มต้นอยู่ที่ 8,000-85,000 บาท ซึ่งการเลือกซื้อนั้นควรเลือกตามงบที่ตั้งไว้จะเหมาะสมที่สุด
การเลือกซื้อ Graphic Card (กราฟิกการ์ด) ตามการใช้งาน
หลังจากที่เลือกซื้อ Graphic Card (กราฟิกการ์ด) ตามงบที่กำหนดไว้แล้ว การเลือกซื้อตามการใช้งานก็เป็นอีกวิธีการเลือกซื้อที่เมาะสม ซึ่งการเลือกซื้อตามการใช้งานนี้ควรที่จะดูงบในการซื้อเป็นองค์ประกอบอีกด้วย สำหรับ Graphic Card (กราฟิกการ์ด) ที่เมาะสมสำหรับงานแต่ละประเภทก็มีดังต่อไปนี้ สำหรับงานแบบ SOHO ในการใช้งานคอมพิวเตอร์ตาม Office แล้วส่วนใหญ่จะใช้งานแค่เพียงทำงานเอกสารอย่างพวกโปรแกรม Office ทั่วๆ กับการเล่น Internet เท่านั้น Graphic Card (กราฟิกการ์ด) ที่ใช้งานจึงไม่จำเป็นต้องมีประสิทธิภาพสูงมากเท่าที่ควรนัก การเลือกการ์ดราคาประหยัดจึงเป็นการเลือกที่คุ้มค่ามากที่สุดโดยเฉพาะพวก On board หรือถ้าที่ตัวเมนบอร์ดนั้นไม่มี Graphic Card (กราฟิกการ์ด) On board มาให้ใช้งานการเลือกการ์ดราคาประหยัดอย่าง SiS 6326, GeForce2 MX 400 หรือ Radeon 7000 มาใช้งานก็ถือได้ว่าคุ้มค่าเป็นอย่างมากในการ ใช้งานทางด้านกราฟิก สำหรับคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานทางด้านกราฟิกนั้นก็เป็นคอมพิวเตอร์ที่ต้องการความเร็วในการประมวลผล และประสิทธิภาพที่จะให้ภาพออกมาสวยงาม ซึ่งไม่ว่าจะเป็นการทำงานด้านกราฟิกทั้ง 3 มิติ หรือ 3 มิติ ต่างก็ต้องการส่วนนี้เป็นอย่างมาก การ์ดที่ควรเลือกมาใช้งานนั้นควรจะเป็น Graphic Card (กราฟิกการ์ด) รุ่นใหญ่ๆ อย่าง GeForce FX 5900 ขึ้นไป หรือ Radeon 9800 ขึ้นไป สำหรับงานออกแบบภาพโครงสร้าง 3 มิติ นั้นการเลือกซื้อการ์ดพวก Quadro หรือ FireGL มาใช้งานก็เป็นทางเลือกที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งสำหรับการ ใช้งานในเรื่องของการเล่นเกม ในส่วนของคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเล่นเกมนั้นการที่จะเลือก Graphic Card (กราฟิกการ์ด) มาใช้งานนั้นค่อนข้างที่จะยากเพราะว่าแต่ละคนย่อมที่อยากจะได้การ์ดที่มีประสิทธิภาพสูงมาใช้งานอย่างแน่นอน โดยการ์ดที่ใช้นั้นสามารถที่จะแบ่งระดับไปตามราคาซึ่งราคาอยู่ในระดับล่างก็จะมีการ์ดพวก GeForce FX 5200, GeForce FX 5500, Radeon 9200 และ Radeon 9550 ซึ่งมีราคาไม่แพงมากนัก สำหรับการ์ดระดับกลางนั้นก็จะมีการ์ด GeForce FX 5700 และ Radeon 9600 ที่น่าสนใจเลือกซื้อมาใช้งานส่วนระดับสูงนั้นมีอยู่หลายตัวที่น่าเลือกซึ่งก็มี GeForce FX 5950 Ultra, GeFroce 6800 GT, GeForce 6800 Ulta, Radeon 9800 XT, Radeon X800 Pro ซึ่งราคานั้นเกือบๆ 30,000 บาทเลยทีเดียว การเลือกซื้อนั้นควรดูที่งบเป็นหลักสำหรับคอมพิวเตอร์ประเภทนี้ใน ใช้งานในส่วนของ Entertainment การใช้งานด้าน Entertainment ที่เป็นการใช้คอมพิวเตอร์ด้านความบันเทิง Graphic Card (กราฟิกการ์ด) ที่เป็นสิ่งสำคัญเป็นอย่างมากเนื่องจากว่าการชมภาพยนตร์นั้นเพื่อที่จะให้คุณภาพของภาพออกมาดี Graphic Card (กราฟิกการ์ด) ก็มีส่วนที่จะช่วยได้มา สิ่งสำคัญในการเลือกซื้อการ์ดในคอมพิวเตอร์ประเภทนี้ควรเลือกที่พอร์ตต่อเชื่อมที่ตัวการ์ดมีมาให้ ถ้าให้ดีควรเลือกซื้อการ์ดที่มีพอร์ตทั้งแบบ D-Sub, DVI, S-Video และ ViVo ซึ่งจะช่วยให้สามารถที่จะต่อแสดงภาพไปยังอุปกรณ์ต่างๆ ได้มากมาย ใช้งานแบบ PC Server สำหรับ PC Server เองก็เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์อีกรูปแบบที่ใช้งาน Graphic Card (กราฟิกการ์ด) ไม่ค่อยสูงมากนักดังนั้นการนำเอาการ์ด On board หรือการ์ดระดับล่างๆ มาใช้งานถือไดว่าเป็นสิ่งที่สมควรเป็นอย่างมาก เนื่องจากว่าควรนำเอางบไปเพิ่มในส่วนของ Hard Disk และ RAM ให้มากๆ ไว้จะดีกว่า
จะเห็นได้ว่าคอมพิวเตอร์ละประเภทก็มีการใช้งาน Graphic Card (กราฟิกการ์ด) แตกต่างกันออกไปสำหรับคอมพิวเตอร์ทีใช้เล่นเกมนั้นเป็นเครื่องที่สามารถจะเลือกซื้อ Graphic Card (กราฟิกการ์ด) ได้ตามงบประมาณที่มียิ่งเลือกการ์ดที่มีประสิทธิภาพสูงมากเท่าไร ราคาก็จะแพงตามขึ้นไปด้วยทางที่ดีควรเลือกระดับกลางๆ ไว้จะเป็นสิ่งที่เหมาะสมมากที่สุด และในการเลือกซื้อการ์ดรุ่นใหม่ๆ ที่ออกมาในช่วงนี้ก็ยังมีรายละเอียดอื่นที่น่าสนใจมากโดยก็มีดังต่อไปนี้
VGA Onboard ว่าแตกต่างกับ VGA แบบธรรมดาอย่างไร
สำหรับผู้ที่กำลังต้องการที่จะเลือกซื้อการ์ดแสดงผลทางด้านกราฟิก หรือ VGA นั้น หลายๆ ท่านคงยังจะสับสนกับการเลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ เมื่อไปดูสเปกของเครื่องคอมพิวเตอร์ตามร้านที่ขายเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือแผ่นพับที่แจกกัน หรือแม้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในโครงการคอมพิวเตอร์เพื่อประชาชนของรัฐบาล นั้นคือคำว่า VGA Onboard ว่าแตกต่างกับ VGA แบบธรรมดาอย่างไร ก็ต้องขออธิบายก่อนว่าคำว่า Onboard นั้นคือการนำเอาวงจรการทำงานของการควบคุมหรือแสดงผลไว้บนตัว Mainboard เพื่อให้สามารถที่จะใช้งานได้ง่าย โดยไม่จำเป็นต้องซื้อ Card เมื่อต่อเพิ่ม และยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการเลือกซื้อลง ซึ่งวงจรในส่วนของ VGA ที่นำมา Onboard นั้นจะมีอยู่ 2 แบบ คือ การนำเอาวงจรทำการรวม (Integrate) ไว้ในชิป North bridge กับ นำเอาชิปกราฟิกมาต่อเชื่อมบนตัว Mainboard เลย ซึ่งการทำงานของ VGA Onboard นั้นจะมีความเร็วเทียบเท่ากับการทำงานของ VGA Card แบบ AGP ซึ่งขึ้นอยู่กับตัวชิปว่าสามารถที่จะรองรับการทำงานได้ที่ AGP1X, 2X, 4X หรือ 8X โดยใช้หน่วยความจำรวม หรือแยกกับหน่วยความจำหลัก ถ้าใช้รวมกับหน่วยความจำหลักนั้นจะทำให้ขนาดหน่วยความจำหลักมีขนาดลดลงตัวอย่างเช่น VGA Onboard ใช้หน่วยความจำ 8MB รวมกับหน่วยความจำหลัก ถ้าหน่วยความจำหลักมีขนาด 128MB จะเหลือ 120MB ในการใช้งาน หรือประมวลผลซึ่งจะทำให้ประสิทธิภาพของเครื่องลดลงไป โดยเมื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งาน VGA Onboard เป็นที่แน่นอนว่าย่อมเป็นรองเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ VGA Card และยิ่ง Graphic Card (กราฟิกการ์ด) ที่ใช้ชิปในระดับสูงๆ ด้วยแล้วยิ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าเป็นอย่าง และถ้าตัว Mainboard ที่มี VGA Onboard แล้วไม่มีช่องต่อเพิ่ม หรือ Slot แบบ AGP มาให้แล้วนั้น การอัพเกรดเพื่อจะใช้งาน Graphic Card (กราฟิกการ์ด) รุ่นอื่นยิ่งเป็นไปได้ยากมาก ต้องอาศัย Graphic Card (กราฟิกการ์ด) ที่เป็น Slot PCI ซึ่งหาได้ยากมากในปัจจุบัน ในการเลือกซื้อคอมพิวเตอร์สำหรับผู้ที่มีงบประมาณน้อยการเลือกใช้ VGA Onboard เป็นสิ่งที่สมควรถ้าจะให้ดีควรที่จะเลือกซื้อ Mainboard ที่มี Slot AGP มาให้ด้วยเพื่อที่จะทำการอัพเกรดได้ในภายหลัง สำหรับผู้ที่มีงบประมาณมากการเลือกซื้อ Graphic Card (กราฟิกการ์ด) ต่างหากเป็นสิ่งที่ดีที่สุดเพื่อให้ได้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพการทำงานที่สูงไว้ใช้งาน
AGP คืออะไร
คำว่า AGP (Accelerated Graphics Port) นั้นคือพอร์ต หรือสล็อดที่ทุกพัฒนาขึ้นมาเพื่อให้ใช้งานร่วมกับ Graphic Card (กราฟิกการ์ด) เพื่อที่จะให้เพิ่มอัตรา และความเร็วในการรับ/ส่งข้อมูลให้เพิ่มมากขึ้นจากเดิมที่ใช้งานร่วมกับสล็อตแบบ PCI ซึ่งการพัฒนานี้ได้เริ่มมาจาก AGP 1.0 หรือ AGP1X/2X ซึ่งจะสามารถที่จะทำงานได้เท่ากับความเร็วของอัตราบัสบนระบบกล่าวคือ ถ้าใช้งานที่ระบบบัส 100MHz AGP 1X ก็จะมีความเร็วในการรับ/ส่งข้อมูลที่ 100MHz ด้วยซึ่งถ้าเป็นสล็อดแบบ PCI นั้นจะสามารถที่จะรับ/ส่งข้อมูลด้วยความเร็ว ? ของระบบเท่านั้นคือ 50MHz ซึ่งการพัฒนาในการใช้งานของ AGP ในปัจจุบันได้พัฒนามาถึง AGP 3.0 หรือ AGP 8X แล้ว และระบบการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ๆ นั้นระบบบัสในการทำงานได้เพิ่มขึ้นสูงกว่าแต่ก่อนมากซึ่งเพิ่มขึ้นสูงถึง 200MHz ถ้าระบบนี้ใช้งานร่วมกับ AGP 8X แล้วความเร็วในการรับ/ส่งข้อมูลจะสูงถึง 200X8 =1.6GHz เลยที่เดียว และยังมีอีกหนึ่งประเภทซึ่งตอนนี้นั้นยังมีใช้งานอยู่ในเมนบอร์ดบางรุ่นเท่านั้น ซึ่งคือ APG Pro สล็อดแบบนี้จะเพิ่มส่วนที่จะให้แรงดันไฟฟ้าเพิ่มขึ้นมาเพื่อที่จะรองรับการทำงานของ Graphic Card (กราฟิกการ์ด) ที่ใช้ระบบระบายความร้อนขนาดใหญ่ ซึ่งในต้อนนี้นั้น Graphic Card (กราฟิกการ์ด) ส่วนใหญ่จะแก้ปัญหาเหล่านี้โดยการอาศัยกระแสไฟฟ้าจาก Power Supply โดยตรง ซึ่งทำให้การใช้งานสล็อดแบบ AGP Pro ไม่มีความจำเป็น
ซึ่งในการเลือกซื้อ Graphic Card (กราฟิกการ์ด) นั้น การที่จะเลือกซื้อว่าจะใช้งาน AGP 4X หรือ 8X นั้นให้เลือกดุที่ว่าเมนบอร์ดที่จะใช้จะใช้งานด้วยนั้นรองรับการทำงานด้วยหรือไม่ ซึ่งถ้าเลือกซื้อ Graphic Card (กราฟิกการ์ด) ที่ใช้งาน AGP 8X ไป แต่เมนบอร์ดรองรับได้เพียงแค่ AGP 4X ก็จะสามารถที่จะใช้ได้เพียง AGP 4X ของ Graphic Card (กราฟิกการ์ด) เท่านั้น จะทำให้การเลือกซื้อนั้นไม่คุ้มกับราคาที่สูญเสียไป เพราะว่า Graphic Card (กราฟิกการ์ด) ที่รองรับการทำงานของ AGP 8X กับ AGP 4X นั้นราคายังแตกต่างกันอยู่เป็นอย่างมากถึงแม้จะใช้ชิปกราฟิกตัวเดียวกัน ซึ่งความรู้ในเรื่องของ AGP เล็กๆน้อยๆ ในครั้งนี้นั้นคงจะทำให้การตัดสินใจในการเลือกซื้อกราฟิกตัวใหม่มาใช้งานนั้นคงจะเป็นไปได้อย่างง่ายขึ้นนะครับ
ระบบระบายความร้อนก็สำคัญ
สำหรับเรื่องระบบระบายความร้อนของตัว Graphic Card (กราฟิกการ์ด) นั้นเป็นเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กับเรื่องระบบระบายความร้อนขอตัว CPU เลยทีเดียว เนื่องจากว่าชิปกราฟิกในปัจจุบันนี้นั้นมีความเร็วในการทำงานที่ค่อนข้างจะสูง และชิปกราฟิกแต่ละตัวนั้นประกอบไปด้วยจำนวนทรานซิสเตอร์ที่มีจำนวนมาก โดยบ้างรุ่นนั้นมีมากกว่าจำนวนของทรานซิสเตอร์ที่มีอยู่ในตัว CPU อีกต่างหาก โดยระบบระบายความร้อนนั้นผู้ผลิตแต่ละหลายนั้นจะมีการออกแบบที่แตกต่างกับออกไปบ้างขึ้นอยู่กับการออกแบบ และดีไซด์ในการใช้งานซึ่งในตอนนั้นเป็นที่แน่นอนว่าจะต้องประกอบไปด้วยฮีลซิงค์ และพัดลมระบายความร้อนอยู่อย่างแน่นอน ซึ่งการ์ดบ้างตัวนั้นจะทำการระบายความร้อนทั้งที่ตัวชิปกราฟิก และที่ตัวหน่วยความจำ ซึ่งในการทดสอบการใช้งานในหลายๆ ครั้งพบว่าถ้าความเร็วในการทำงานของหน่วยความจำสูงๆ นั้นตัวหน่วยความจำก็จะเกิดความร้อนที่สูงมากอยู่เหมือนกัน ซึ่งความร้อนนี้นั้นเป็นสิ่งที่มีผลกับการใช้งานเป็นอย่างมาก
หลายๆ ครั้งที่ชิปกราฟิก และตัวหน่วยความจำบนการ์ดนั้นมีความร้อนมาก จะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์เกิดอาการรีเซตตัวเองในทันที หรือไม่ก็ทำให้เครื่องเกิดอาการค้าง หรือขึ้นจอบลูสกรีน (Blue Screen) ได้ซึ่งจะทำให้การใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นเป็นไปอย่างไม่ราบรื่น ยิ่งในตอนที่เล่นเกมด้วยแล้วจะทำให้รู้สึกเสียอารมณ์เป็นอย่างมาก โดยความร้อนที่เกิดขึ้นนี้นั้นมักจะเกิดขึ้นเมื่อทำการใช้งานต่อเนื่องเป็นเวลานาน ทำการประมวลผลภาพอย่างหนักหน่วง (ส่วนใหญ่การเล่นเกมที่เป็นภาพแบบ 3มิติ นั้นจะใช้งาน Graphic Card (กราฟิกการ์ด) มากกว่าการทำงานอย่างอื่น ยกเว้นการใช้งานในการออกแบภาพต่างๆ) ซึ่งการใช้งานประเภทนี้นความร้อนจะเกิดขึ้นได้เป็นอย่างมาก สำหรับผู้ที่ต้องการเลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ใหม่ และทำการอัพเกรด Graphic Card (กราฟิกการ์ด) ตัวใหม่นั้นสิ่งที่อย่างให้คำนึงถึงในการเลือกระบบระบายความร้อนที่ดีให้กับตัว Graphic Card (กราฟิกการ์ด) ไว้ด้วย เพื่อที่ให้การใช้งานนั้นเป็นไปอย่างรายรื่น ไม่สะดุด และเกิดปัญหาในการใช้งาน อีกทั้งยังสามารถที่จะยืดอายุในการใช้งานให้ยาวนานเพิ่มขึ้นได้อีกด้วย สำหรับการเลือกซื้อ และเทคนิคการใช้งาน Graphic Card (กราฟิกการ์ด) นั้นยังมีอีกมากมายทางทีมงานก็จะนำเสนอให้ได้รับทราบกันอีกต่อไป
โดยส่วนมากผู้ที่ต้องการที่จะทำการเลือกซื้อ Graphic Card (กราฟิกการ์ด) นั้นส่วนใหญ่จะทำการเลือกซื้อโดยอาศัยการตัดสินใจที่ตัวชิปกราฟิก ซึ่งจริงๆ แล้วเป็นสิ่งที่ถูกต้องเป็นอย่างมาก เนื่องจากว่าการเลือกซื้อ Graphic Card (กราฟิกการ์ด) ใหม่ๆ นั้นจำเป็นต้องอาศัยการพิจารณาเอาที่เทคโนโลยีที่ถูกติดตั้งมาบนชิปกราฟิกแต่ละรุ่น อีกทั้งยังสามารถที่จะเลือกที่ความเร็วในการทำงานของชิปกราฟิกในแต่ละรุ่น เพราะว่าการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต้องอาศัยการประมวลผลทางด้านกราฟิกมากเป็นพิเศษ อย่างการเล่นเกมคอมพิวเตอร์ หรือใช้งานทางด้านการออกแบบภาพ และตกแต่งภาพ ทั้ง 2มิติ และ 3มิติ นั้นจำเป็นต้องอาศัยความเร็วในการทำงานของชิปกราฟิกด้วยกันทั้งสิ้น เนื่องจากว่าโปรแกรมต่างๆ ในตอนนี้นั้นจำเป็นต้องอาศัยความเร็วในการประมวลผลที่ค่อนข้างสูง เพราะมีประมาณข้อมูลที่จะนำมาสร้างขึ้นเป็นภาพนั้นมากขึ้นจากเดิมเป็นอย่างมาก จึงต้องอาศัยความเร็วในการประมวลผลที่สูงขึ้นตามมา
RAM ก็มีผลต่อประสิทธิภาพ
ในส่วนของการเลือกซื้อ Graphic Card (กราฟิกการ์ด) นอกจากที่เลือกที่ชิปแล้ว หลายๆ ท่านคงจะสงสัยว่า หน่วยความจำที่ให้มาด้วยนั้นมีความแตกต่างกันอย่างไร และใช้ทำอะไร เพราะว่าหน่วยความจำของเครื่องก็มีอยู่แล้วทำไหมต้องใช้หน่วยความจำที่ Graphic Card (กราฟิกการ์ด) ด้วย ซึ่งจริงๆ แล้วหน่วยความจำ หรือ RAM ที่อยู่บน Graphic Card (กราฟิกการ์ด) นั้นทำหน้าที่คล้ายกับหน่วยความจำที่อยู่บนเมนบอร์ด หรือหน่วยความจำหลัก แต่แตกต่างกันตรงที่หน่วยความจำหลักนั้นจะเก็บ และพักข้อมูลที่ได้จาก CPU เพื่อนำไปแสดงผล หรือเป็นข้อมูลที่กำลังให้ CPU ประมวลผลอยู่ ซึ่งสังเกตได้ว่าถ้าเครื่องไหนที่มีหน่วยความจำหลัก (RAM) มาก
เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นจะสามารถที่เปิดโปรแกรมได้หลายๆ โปรแกรมได้พร้อมๆ กันโดยไม่ค่อยมีอาการค้าง หรือกระตุกให้เห็น สำหรับหน่วยความจำที่อยู่บน Graphic Card (กราฟิกการ์ด) นั้นจะทำหน้าที่เก็บ และพักข้อมูลเหมือนกัน แต่จะเป็นข้อมูลที่เป็นส่วนประกอบของรูปภาพที่จะนำมาแสดงบนหน้าจอ โดยข้อมูลนั้นจะเป็นข้อมูลที่ได้จากตัว GPU หรือชิปกราฟิก นั้นเอง โดยข้อมูลส่วนใหญ่ที่นำมาเก็บบนหน่วยความจำกราฟิกนั้นส่วนใหญ่จะเป็นข้อมูลที่เป็นส่วนประกอบของพื้นผิวของภาพเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้น Graphic Card (กราฟิกการ์ด) ที่มีหน่วยความจำสูงๆ จะสามารถที่จะทำการ Render หรือ แสดงพื้นภาพได้อย่างต่อเนื่อง และรวดเร็วกว่า Graphic Card (กราฟิกการ์ด) ที่มีหน่วยความจำน้อยๆ อย่างแน่นอน แต่ในช่วงที่ผ่านมานั้นทางผู้ผลิตได้ประสบปัญหาที่ใหญ่มานั้นปัญหาเรื่องคอขวด หรือการบีบอัดของข้อมูลในการแสดงภาพ เนื่องจากว่าชิปกราฟิกสามารถที่จะประมวลผลได้อย่างรวดเร็ว แต่หน่วยความจำจะส่งข้อมูลที่ได้ละประมาณน้อยทำให้ถึงแม้ว่าความเร็วในการประมวลผลของชิปกราฟิกสูงขึ้นมากเท่าไร ความเร็วในการแสดงภาพก็ไม่เร็วขึ้นมาเท่าที่ควร ดังนั้นทางผู้ผลิตจึงต้องนำเอาหน่วยความจำรุ่นใหม่ๆ มาใช้กับชิป Graphic Card (กราฟิกการ์ด) รุ่นใหม่ด้วยอยู่เสมอ โดยใน Graphic Card (กราฟิกการ์ด) รุ่นใหม่ๆ นั้นจะนำเอาหน่วยความจำแบบ DDR, DDR II และหน่วยความจำแบบ 256bit มาใช้งาน ซึ่งหน่วยความจำบ้างตัวเป็นเทคโนโลยีที่ใหม่เป็นอย่างมากแม้แต่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ยังไม่มีให้เห็นกันอีกด้วย
ในส่วนของเรื่องข้อแต่ต่างกันระหว่างการทำงานของ Graphic Card (กราฟิกการ์ด) ที่มีหน่วยความจำมากน้อยกว่ากันนั้นจะมีตารางคะแนนที่ได้จากการทดสอบระหว่าง Graphic Card (กราฟิกการ์ด) ที่ใช้หน่วยความจำขนาด 128MB กับ 64MB โดยใช้ชิปที่เหมือนกัน
GeForce FX 5200 DDR 128MB GeForce FX 5200 DDR 64MB
3DMark2003 Score Score
1024x768x32bit (Normal) 1606 1535
1600x1200x32bit 877 849
3DMark2001SE Score Score
1024x768x32bit (Normal) 8013 7863
1600x1200x32bit 4872 4673
Comanche4 FPS FPS
1024x768x32bit 33.33 32.89
1600x1200x32bit 20.91 20.09
Quake III Arena (demo 001) FPS FPS
1024x768x32bit (All High) 192.2 185.9
1600x1200x32bit (All High) 94.3 91.1
SPECviewperf7.0 FPS FPS
3dsmax 5.640 5.639
ซึ่งจะเห็นได้ว่าการเพิ่มหน่วยความจำขึ้นมาทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานสูงขึ้นมาจากเดิม แม้ว่าจะใช้ชิปกราฟิกตัวเดียวกัน จากตารางจะเห็นได้ชัดเป็นอย่างมาก ซึ่งผู้ที่ต้องการเลือกซื้อ Graphic Card (กราฟิกการ์ด) ตัวใหม่นั้นควรที่จะเลือกซื้อ Graphic Card (กราฟิกการ์ด) ให้เหมาะสมกับการใช้งานจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุด เพราะว่าถ้าต้องการเพิ่มส่วนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยความจำ หรือเทคโนโลยีใหม่ที่รองรับ แน่นอนงบประมาณก็ต้องเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน ทางที่ดีเลือกซื้อให้คุ้มค่า และราคาจะดีที่สุดครับ
การเลือกซื้อ Graphic Card (กราฟิกการ์ด) ในรุ่น GeForce FX Series และ Radeon 9 Series
เทคโนโลยีกับความบันเทิงเป็นสิ่งที่ก้าวเดินควบคู่กันมานานมากแล้ว สำหรับนักเล่นเกมเกิดในสมัยเดียวกับผมทุกท่านของจะได้เห็นการพัฒนาของ เครื่องเล่นเกม ตั้งแต่สมัยแรกๆ ที่เป็นเครื่องเล่นเกมส์ยังเป็นแบบเกมส์กดสีขาวดำจำพวกที่ยิงศัตรูไปเรื่อยๆ หรือต่อรูปทรงเลขาคณิตต่างๆ ซึ่งหลายๆท่านคง นึกออก ต่อมาได้มีการพัฒนาเป็นพวกเครื่องเกมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เครื่อง Famiry, SuperFamicom, Megadrive ซึ่งส่วนใหญ่ได้หายไปจากโลกแล้ว (แต่ผมยังเห็น เครื่อง Famiry วางขายตามตลาดนัดอยู่นะครับ) จนถึงในสมัยเครื่องเล่นเกมเป็นที่นิยมเป็นอย่างมากคือ Sony Playstation ที่มียอดขายได้ อย่างมหาศาล จนใน สามารถทำให้ยักษ์ใหญ่อย่าง Microsoft ต้องลงมาสนใจตลาดทางด้านเกมจึงส่ง Xbox มาทำตลาดบางเพราะว่า กระแสของผู้เล่นเกม เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
สำหรับเกมส์สำหรับคอมพิวเตอร์ก็มีการพัฒนาตั้งแต่ในสมัยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นแบบให้สีขาวดำเป็นเกมส์จำพวกเดียวกับเกมส์กด ทั้งหลาย ในสมัยนั้นและมีการพัฒนาเป็นเกมดังๆ อย่าง Doom, Prince of Persia, Simcity และอย่าง Warcraft กับ Command & Conquer ในภาคแรกๆ ซึ่งการที่จะเล่น พวกนี้บนเครื่องคอมพิวเตอร์ในสมัยก่อนนั้นจำเป็นต้องใช้งานการประมวลผลทางด้านภาพที่มากขึ้นกว่าการแสดงแค่ตัวอักษร นักพัฒนา คอมพิวเตอร์จึงได้คิดค้น หน่วยประมวลผลทางด้านกราฟิกขึ้นมากคือ การ์ดแสดงผลการ์ดฟิก VGA ขึ้นมาใช้งาน จากการที่เกมต่างๆ ต้องการ ทรัพยากรของ ระบบคอมพิวเตอร์เพิ่มขึ้นมาก อีกทั้งการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีโดยร่วมก็ก้าวหน้าขึ้นเป็นอย่างมาก จากเกมที่แสดงผลได้แค่ 2 มิติ ได้พัฒนา เป็นกึ่ง 3 มิติ และเป็นเกมที่มีการใช้ระบบแสดงภาพ 3 มิติอย่างเต็มรูปแบบในปัจจุบัน อีกทั่งยังมีการเรนเดอร์ (Render) ภาพ 3 มิติในรูปแบบของ แอนิเมชั่น (Animation) ซึ่งทุกท่านคงต้องเคยได้รับชมในเกม ต่างๆ สำหรับเกมคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันนี้ ใช้การเรนเดอร์ภาพ 3 มิติคุณภาพสูงมากจึงทำให้การ์ดจอ หรือกราฟิก การ์ดนั้นจำเป็นต้องเพิ่มประสิทธิภาพตามขึ้นไป ด้วย รวมทั้งการสนับสนุนเทคโนโลยี Software การจัดการภาพ 3 มิติอย่าง DirectX และ OpenGL ก็ได้มีการพัฒนาในการใช่คำสั่งทางด้านโปรแกรมมากขึ้น ซึ่งทำให้ได้ภาพที่สมจริงสมจัง สวยงามเหมือนกับสัมผัสบรรยากาศของจริง ซึ่งจำเป็น ต้องใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ เพิ่มขึ้นอยู่เรื่อยๆ สำหรับผู้ที่พัฒนาชิปกราฟิกอย่าง 3dfx, S3 และอีกหลายๆ เจ้าได้พากันปิดกิจการ กันไปหลายหลากเนื่องจากสู้แรง กระแสจากค่ายใหญ่ยักษ์อย่าง nVIDIA, SIS และATI ไม่ได้ ซึ่งในปัจจุบันบริษัทที่ ทำการผลิตการ์ดกราฟิกได้นำชิปต่างๆ ไปทำการผลิตออกมาสู่ตลาด คอมพิวเตอร์มากมายหลายรุ่น ซึ่งจะแบ่งตลาดการค้าเป็น 3 ระดับ ได้แก่ตลาดระดับล่าง ระดับ กลาง และระดับสูง โดยการแบ่งระดับนั้นจะแบ่งโดยอาศัยราคา ของตัวการ์ดเป็นหลัก ซึ่งยิ่งอยู่ในระดับสูงๆ จะเป็นการ์ดที่ใช้ชิปในรุ่นใหม่มีประสิทธิภาพสูง ราคา จะอยู่ในขั้นที่แพงมาก การ์บางรุ่นราคาเท่ากับเครื่อง คอมพิวเตอร์ครบชุดเครื่องหนึ่งเลยที่เดียวครับ ซึ่งหลายๆ คนมักจะพูดกันว่าเกมเป็นตัวที่ทำให้เครื่อง คอมพิวเตอร์ตกรุ่นเร็ว (ซึ่งก็เป็นอย่างนั้นจริงๆ) สำหรับซิป กราฟิกระดับต่างๆแบ่งได้ดังต่อไปนี้
ชิป Graphic Card (กราฟิกการ์ด) ระดับล่างสำหรับผู้ใช้งานที่ต้องการประหยัดงบ
การ์ดในระดับนี้ ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการ์ดที่ใช้ชิปที่ออกแบบมาโดยมีการตัดเทคโนโลยีบางอย่างออก จากในรุ่นที่ใหญ่กว่า หรือมีความเร็วในการ ทำงาน ที่ค่อนข้างต่ำกว่าในระดับกลางซึ่งผมจะแบ่งออกไปตามค่ายที่ทำการผลิตชิปกราฟิกค่ายต่างๆ คือ
nVIDIA
สำหรับชิปของ nVIDIA ในระดับนี้จะยังมีชิปจำพวกที่ถือได้ว่าใกล้จะตกรุ่นแล้ว อย่างเช่น GeForce2 MX ซึ่งก็ยังมีขายอยู่ในตลาด และในส่วน ชิปจำพวก GeForce4 MX ในทุกๆ รุ่น ซึ่งราคาของการ์ดที่ใช้รุ่นนี้จะ แตกต่างกันตั้งแต่ 1,500 ถึง 2,500 บาท ซึ่งในรุ่น GeForce4 MX จะมีการ สนับสนุน การทำงานทางด้าน 3 มิติมากกว่าทั้งการสนับสนุน DirectX 8.1 และOpenGL1.3 สำหรับในส่วนการสนับสนุน DirectX8.1 จะสนับสนุนได้ไม่ ครบทุกฟังค์ชั่น อย่าง Pixel Shader กับ Bump Mapping ซึ่งทาง nVIDIA ได้นำออกไปเพื่อให้เกิดความแตกต่างกับรุ่นกลาง ในส่วนของการ์ดที่ใช้ชิป GeForce FX 5200 นั้นในตอนนี้ก็ดูเหมือนว่าราคาถูกลงจนน่าสนใจเป็นอย่างมากโดยที่ชิปรุ่นนี้นั้นสามารถที่จะทำการรองรับ AGP8X ให้เป็นอย่างดีอีกทั้ง ยังรองรับ DirectX 9.0 และ OpenGL 1.4 ได้เป็นอย่างดี สำหรับเทคโนโลยีการลบรอยยักของภาพสามเหลี่ยม (Antialiasling) สามารถเปิดใช้งานได้ที่ 4X แต่ก็มีผลทำให้ลดความ เร็วการแสดงภาพลงไปมาก ทางที่ดีควรจะเปิดไว้ที่ 2X ซึ่งจะทำงานได้ราบรื่นที่สุด ในส่วนของผู้ผลิตการ์ดในรุ่นมีมีอยู่ด้วยกัน หลายบริษัทอย่าง WinFast, Asus , Elsa, Inno3D, MSI, Spark และบริษัทอื่นๆ อีกมาก
ATi
ATi ก็เป็นอีกค่ายหนึ่งที่ทำการต่อสู้ฟาดฟันกับ nVidia เพื่อจะเป็นจ้าวแห่งผู้ผลิตชิปกราฟิก สำหรับการทำตลาดระดับนี้ของ ATi ได้ส่งชิปรุ่น Radeon รุ่งล่างมาทำตลาดอย่าง Radeon 9200, Radeon 9200SE, Radeon 9200 Pro ซึ่งตลาดระดับล่างของ ATi มักจะค่อนข้างเงียบเหงา ซึ่งมัก จะถูกทาง nVIDIA ชิงตลาดไปได้มากกว่า ในเรื่องประสิทธิภาพกับราคาแล้วค่อนข้างจะสู่สีกับทาง nVIDIA เป็นอย่างมาก อีกอย่างผู้ผลิตการ์ดให้กับ ATi ซึ่งยังมี น้อยรายอยู่จึงทำให้ตลาดไม่ค่อยเปิดกว้างมากนัก
ตารางเปรียบเทียบของชิประดับล่าง
nVidia GeForce ATi Redeon
Graphics Core MX400 MX440 FX 5200 9200 9200 Pro
Memory Interface SDR 128bit DDR128bit DDR128bit SDR/DDR128bit DDR128bit
Core Clock Rate 200 MHz 275 MHz 250 MHz 250MHz 275 MHz
Memory Clock Rate 166 MHz 400 MHz 400 MHz 400 MHz 450 MHz
RAMDAC 350MHz 350 MHz 400 MHz 400 MHz 400 MHz
DirectX DirectX 7 DirectX 8.1 DirectX 9.0 DirectX 9.0 DirectX 9.0
OpenGL OpenGL 1.2 OpenGL 1.3 OpenGL 1.4 OpenGL 1.3 OpenGL 1.3
สำหรับชิปในระดับล่างนี้ เมื่อนำมาเล่นเกมส์ที่ออกใหม่ในตอนนี้จะพบการสะดุดของภาพแล้วการแสดงภาพจะแสดงจะไม่สามารถเปิดฟังก์ชั่นกราฟิก ของเกมส์ ได้เต็มที ซึ่งเหมาะสมกับผู้ที่ไม่ได้ใส่ใจกับรายละเอียดของเกมมากนัก หรือไม่ได้เล่นเกมที่ให้ภาพกราฟิก 3 มิติสูงๆ และใช่งานกราฟิกหนักๆ ซึ่งเหมาะ กับผู้ที่ต้องการประหยัดงบประมาณในการเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ ถ้าต้องการการใช้งาน ViVo (Video In/Video Out) ราคาก็จะเพิ่มขึ้นไปอีกส่วยการ์ดที่ ออกมาใหม่จะสนับสนุน AGP 8X ซึ่งทำให้การส่งข้อมูลเพิ่มขึ้นแต่ราคาจะเพิ่มขึ้นจากเดิมประมาณ1,000 - 1,500 บาทเลยที่เดียว
ระดับกลางสำหรับผู้ต้องการกราฟิกระดับคุณภาพ
ในส่วนของตลาดระดับกลางนี้มีการแข่งขันกันค่อนข้างสูงไม่ว่าจะเป็นทั้งประสิทธิภาพแล้วราคา Graphic Card (กราฟิกการ์ด) ในแต่ละรุ่นแต่ละยี่ห้อ ซึ่งผู้ที่แข่งขันกัน หลักๆ ก็คือ nVIDIA กับ ATI เหมือนเดิมเพราะชิป Graphic Card (กราฟิกการ์ด) ตัวอื่นๆ ดูเหมือนจะกำลังหาทางทำตลาดไม่เจออยู่จึงทำให้ข่าวนั้นเงียบหายกันไป สำหรับผู้ที่ เป็นเกม เมอร์ (Gamer)ตัวจริงคงจะต้องมองหา Graphic Card (กราฟิกการ์ด) ในระดับนี้ไว้ใช้งานแน่ๆ เพราะว่าคุณภาพ และความเร็วซึ่งจะแตกต่างจากระดับล่างเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะด้วย การทดสอบที่ทางทีมงานได้นำเสนอไปบ้างแล้ว
nVIdia
สำหรับชิปกราฟิกระดับกลางของ nVIDIA ก็มีการ์ดที่ใช้ชิปต่างๆ อยู่มากมายเป็นอย่างมากไม่ว่าจะเป็น GeForce FX 5600, GeForce FX 5600 Ultra, GeForce FX 5700 และ GeForce FX 5700 Ultra โดยในแต่ละรุ่นนั้นก็มีความเร็วในการทำงานของชิปที่แตกต่างกันไป ในส่วนที่ เหมือนกันนั้นก็ เห็นจะเป็นเรื่องที่สามารถที่จะทำการรองรับ AGP 8X และการทำงานร่วมกับ API อย่าง DirectX 9.0 และ OpenGL 1.4 สำหรับรุ่น 5700 นั้นจะสามารถ ที่จะรองรับ OpenGL 1.5 ด้วย สำหรับการ์ดรุ่นใหม่ๆ ที่ใช้ชิป GeForce FX 5700 Ultra นั้นยังมีส่วนที่นำเอา DDR III มาใช้งานเพื่อ เพิ่มประสิทธิภาพ ในการแสดงผลให้มากขึ้น
ATi
ในส่วนของ ATi ได้มีชิป Radeon 9500, Radeon 9600 Pro, Radeon 9600Pro และ Radeon 9600 XT สำหรับประสิทธิภาพการ ทำงานของ Radeon 9500, Radeon 9600 Pro, Radeon 9600Pro และ Radeon 9600 XT นั้นก็เหมือนกับทางด้านของ nVidia คืออาศัย ความแตกต่างของไปป์ไลน์มาเป็นการแบ่งแต่ละรุ่น ซึ่งความแตกต่างในส่วนของไปป์ไลน์ต่างๆ ทำให้มีประสิทธิภาพที่แตกต่างกันออกไป ทั้งที่เมื่อสังเกตดูจะ เห็นความ ความเร็วจะไม่แตกต่างกันเลยในแต่ละรุ่น เมื่อทำการเปรียบเทียบแล้วทาง ATi จะได้เปรียบกว่าเล็กน้อยในเรื่องของราคา แต่ทางด้านประสิทธิภาพ นั้นทำออกมาได้ดี พอกันทั้งคู่ ในส่วนของการ์ดที่ใช้ชิป radeon 9600 XT นั้นเป็นชิปที่ออกมาใหม่สุด สามารถที่จำแสดงภาพได้สวยงามเป็นอย่างมาก ทั้งการที่สามารถที่จะรองรับ OpenGL 2.0 ได้ ความเร็วในการทำงานก็สูงจึงเป็นที่น่าสนใจในชิประดับกลางของ ATi
จำนวนไปป์ไลน์ของชิปรุ่นใหม่ของ ATi
Rendering Pipelines Textures Applied per Pass
Redeon 9500 4 8
Redeon 9500 PRO 8 16
Redeon 9700 4 16
Redeon 9700 PRO 8 16
ตารางเปรียบเทียบของชิประดับกลาง
nVidia GeForce ATi Radeon
Graphics Core 5600 Ultra 5700 Ultra 9600 9600 Pro 9600 XT
Memory Interface DDR128bit DDR128bit DDR128bit DRR128bit DDR128bit
Core Clock Rate 325 MHz 475 MHz 325 MHz 400 MHz 500 MHz
Memory Clock Rate 600 MHz 800 MHz 400 MHz 600 MHz 600 MHz
RAMDAC 400 MHz 400 MHz 400 MHz 400 MHz 400 MHz
DirectX DirectX 9.0 DirectX 9.0 DirectX 9.0 DirectX 9.0 DirectX 9.0
OpenGL OpenGL 1.4 OpenGL 1.5 OpenGL 1.4 OpenGL 1.4 OpenGL 2.0
สำหรับผู้ที่ต้องการกราฟิกของเกมส์ระดับคุณภาพที่มีความนุ่มนวลในการเล่น และยังสามารถเล่นเกมที่ออกมาใหม่ได้อย่างสนุกสนาน ไม่มีอาการ สะดุดให้เสียอารมณ์การ์ดระดับนี้เป็นที่น่าสนใจอย่างยิ่ง ซึ่งราคาของการ์ดระดับนี้จะมีราคาอยู่ที่ประมาณ 5,000 - 9,000บาท ซึ่งเป็นราคาที่คุ้มกับคุณภาพ ของการ ทำงาน สำหรับการเลือกซื้ออยู่ที่ความเหมาะสมกับงบประมาณในการซื้อ เพราะว่าเพียงข้อแตกต่างเพียงนิดหน่อยก็ทำให้ราคาสูงขึ้น อย่างเช่น การเลือก ซื้อการ์ด ที่ทำงานแบบ AGP 8X ซึ่งก็ต้องดูว่าเมนบอร์ดของที่ใช้งานนั้นซับพอร์ต (Support) หรือเปล่า? เพราะราคาจะต่างกับ AGP 4X อยู่มาก
ชิปกราฟิกระดับสูงมากด้วยคุณภาพและราคา
ชิปที่เราเลือกให้อยู่ในระดับนี้นั้นเป็นซิปที่ทางผู้ผลิตชิปได้จัดไว้ในสายการผลิตระดับบินสุดของสายการผลิตซึ่งตอนนี้ Graphic Card (กราฟิกการ์ด) ที่ใช้ชิปพวกนี้อยู่ ราคาจะอยู่ที่ระดับแพงกว่า 10,000 บาทขึ้นไป ซึ่งเท่าที่มีอยู่ในตลาดบ้านเราจะมีอยู่ของค่ายคือของทาง nVIDIA กับของทาง ATI ซึ่งในของ nVIDIA นั้นจะ มีชิป GeForce FX 5900 Ultra และ GeForce FX 5950 Ultra ซึ่งเป็นชิปที่มีความเร็วของสัญญาณนาฬิกาที่สูงกว่าจึงทำให ้การทำงานประมวลผล เป็น ไปได้เร็วขึ้น ซึ่งในส่วนของ ATI ก็จะมี Radeon 9800 Pro และ 9800 XT เป็นคู่แข่งซึ่งในส่วนของ Radeon จะแตกต่างกับของ Geforce FX ตรงที่ไม่ได้เพิ่มความเร็วของสัญญาณนาฬิกาเพียงอย่างเดียวแต่จะเพิ่มการทำงานของไปป์ไลน์ ในการประมวลผลเข้าไปด้วยทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพ มากขึ้น สำหรับในส่วนของผลการทดสอบในหลายๆครั้งของทีมงาน พบ Graphic Card (กราฟิกการ์ด) ในรุ่นนี้ค่อยข้างที่จะสูสีกันข้อแตกต่างจะขึ้นอยู่กับผู้ผลิตการ์ดว่ามีการเลือก ใช้วัตถุ ต่างๆ ที่ใช้ร่วมกับชิปกราฟิกไม่ว่าจะเป็น RAM หรือแม้กระทั่งระบบระบายความร้อนของการ์ด เพราะว่าการทำงานเมื่อมีความเร็วสูงผลที่ตามมาก็คือ ความร้อน ซึ่งจะมีผลต่อการทำงานของระบบโดยร่วมจึงเป็นสิ่งที่จะมองข้ามไม่ได้ สำหรับราคาก็อย่างที่กล่าวไปแล้วจะอยู่ที่ระดับ 10,000 บาทขึ้นไป การ์ด บ้างตัวราคา เท่ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ครบชุดที่เครื่องเลยที่เดียว (อะไรจะขนาดนั้น ?) ข้อแตกต่างอีกอย่างสำหรับทั้ง 2 ค่ายก็คือในส่วนของการสนับสนุน DirectX9.0 ได้ซึ่ง ทำให้รองรับฟีเจอร์ใหม่ในส่วนของราคานั้น แน่นอนว่าการ์ดที่ใช้ชิปทั้ง 4 รุ่น คือ GeForce FX 5900 Ultra, GeForce FX 5950 Ultra, Redeon9800 Pro และRadeon9800 XT นั้น แพงเอาการเลยที่เดียว ซึ่งสำหรับในอนาคตเมื่อมีชิปรุ่นใหญ่ของ nVidia อย่าง GeForce FX6800 และ Radeon X800 นั้นเข้ามาขายรับรองได้ว่า ราคาในรุ่นต่างๆ จะต้องปรับตัวลงอีกอย่างแน่นอน
ตารางเปรียบเทียบของชิประดับสูง
ATI Radeon nVIDIA GeForce
Graphics Core 9800 Pro 9800 XT FX 5900 FX 5900 Ultra FX 5950 Ultra
Memory Interface DDR 256bit DDR 256bit DDR II DRR 256bit DRR 256bit
Core Clock Rate 380MHz 412MHz 400MHz 450MHz 475MHz
Memory Clock Rate 700MHz 730MHz 850MHz 850MHz 950MHz
RAMDAC 400MHz 400 MHz 400MHz 400MHz 400MHz
DirectX DirectX 9.0 DirectX 9.0 DirectX 9.0 DirectX 9.0 DirectX 9.0
OpenGL OpenGL 1.4 OpenGL 2.0 OpenGL 1.4 OpenGL 1.4 OpenGL 1.5
ก่อนที่จะตัดสินใจเลือกซื้อ
เมื่อดูจากชิปต่างๆ แล้วท่านคงจะรู้ได้ว่าชิปกราฟิกในระดับต่างๆ นั้นแตกต่างกันอย่างไรบ้างแต่การเลือกซื้อการ์ดจอดีๆ สักตัวก็ต้องพิจารณาจะสิ่ง อื่นๆ อีก ไม่ว่าจะเป็นแรมที่ให้มาซึ่งผู้ผลิตการ์ดแต่ละยี่ห้อย่อมผลิตออกมาไม่เหมือนกันความแตกต่างนี้ได้แก่ ความเร็วในการทำงานของแรมซึ่งมีผล ทำให้การ ประมวลผลต่างๆ ทำงานได้เร็วขึ้น ระบบระบายความร้อนซึ่งการระบายความร้อนที่มีประสิทธิภาพก็ทำให้การใช้งานเป็นเวลานานทำให้ไม่เกิดความร้อนสะสม เพราะความร้อนส่งผลต่อเสถียรภาพของตัวการ์ด และความร้อนยังเป็นตัวบันทอนอายุการให้งานของการ์ดด้วย ซึ่งผู้ที่มีใจรักในการเล่นเกมจริงๆ แล้วควรคำนึง ถึงในส่วนนี้มากๆ เพราะในการเล่นเกมแต่ละครั้งผมเชื่อว่าไม่ใครเล่นต่ำกว่า 1 ชั่วโมงแน่ๆ ( ผมเองบ้างทีเปิดเครื่องไว้ทั้งวัน และเล่นเกมต่อเนื่อง3-4ชั่วโมง เลย ครับ) ซึ่งการทำงานหนักๆ เป็นเวลานานๆ ความร้อนย่อมเกิดขึ้นแน่ ดังนั้นระบบระบายความร้อนจึงมีความสำคัญและไม่ควรมองข้าม สำหรับการเลือกซื้อที่ สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ รับประกันซึ่งในส่วนนี้ก็ถือว่ามีความสำคัญไม่น้อยเพราะจากประสบการณ์โดยส่วนตัวพบว่าในบ้างครั้ง การ์ดที่เราซื้อมาทำงานได้ไม่ดี เล่นเกมแล้วแฮงค์ค้างทุกครั้ง บ้างครั้งเกิดอาการชิป หรือแรมไหม้ไปเลยก็มี ซึ่งถ้ามีการรับประกันที่ดีก็จะทำให้เราไม่เสียความรู้สึกว่าซื้อไปก็ไม่ได้เล่นในบ้างที่ ต้องรอเปลี่ยนเป็นอาทิตย์ๆ ซึ่งในหมู่นักเล่นเกมคงไม่อย่างจะให้เกิดปัญหาแบบนี้แน่ๆ
เมื่อเราเลือกดูทุกอย่างครบแล้วก็หันมาดูงบประมาณในกระเป๋าว่ามีงบในการซื้อในระดับไหน เพราะเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ สำหรับผู้ผลิตการ์ดจอต่างๆ ก็มีมากมาย ในระดับล่างจะมีผู้ผลิตมากหน้าหลายตาหน่อย แต่ในระดับสูงๆ มีมีเลือกอยู่ไม่กี่เจ้า เพราะว่าต้นทุนที่สูงและ ปริมาณความต้องการที่น้อย ผู้ผลิตราย เล็กๆ จึงไม่ค่อยจะกล้าเสี่ยงลงทุน การเลือกซื้อก็ขึ้นอยู่กับความพอใจของท่าน ในสำหรับตัวผมแล้วคงจะเลือกการ์ดที่สามารถรองรับเกมใหม่ๆ ได้อีกสัก1-2 ปี ซึ่งเท่าที่มองดูการ์ดระดับกลางนี้น่าสนใจมากเลยที่เดียวไม่ว่าจะเป็น GeforceFX 5700 หรือ Radeon 9600 XT เพราะโดยส่วนตัวผมเองก็เล่นเกมหลาก หลายประเภทเหมือนกัน สำหรับผู้ที่สนใจจะเลือกซื้อการ์ดจอ หรือ Graphic Card (กราฟิกการ์ด) มาใช้เล่นเกมส์สักตัวในตอนนี้ทางที่ดีท่านควรสำรวจในสิ่งต่างที่กล่าวมาข้างต้น ก่อนที่จะตัดสินใจเพราะ เมื่อซื้อมาแล้วการให้ภาพและประสิทธิภาพไม่ได้ดังใจหรือเกิดปัญหาต่างๆ ขึ้นมาจะทำให้การเล่นเกมอย่างมีความสุขจะกลายเป็นความ หงุดหงิดได้ และการแสดงผลของเกมส์ก็ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการ์ดจอเพียงอย่างเดียวองค์ประกอบอื่นๆ ก็สำคัญไม่ว่าจะเป็น ความเร็วของ CPU, ขนาดของ RAM และแม้กระทั่ง CD-ROM เพราะหลายครั้งอาการของเกมสะดุดกระตุกเกิดจาก CD-ROM อ่านข้อมูลไม่ทัน ซึ่งควรพิจารณาดีๆ ก่อนจะตัดสินใจซื้อ เพื่อให้ การเล่นเกมของท่านราบรื่น และได้รับความรู้สึกที่ดีต่อการเล่นเกมที่ท่านชื่นชอบ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น